การเดินทางไปเที่ยวในปัจจุบันมีช่องทางการเดินทาง ที่ให้เราเลือกได้หลากหลายมากขึ้นนะคะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูกลง เพราะการเดินทางไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในเครื่องบินเท่านั้น เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวหันกลับมาใช้การเดินทางด้วยรถไฟกันมากขึ้น พร้อมทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยเองก็พัฒนาคุณภาพของห้องโดยสาร ที่นั่ง และการบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้บริการ เพราะจองไม่เป็น ไม่รู้จะเลือกยังไง นั่งแบบไหน และไม่ทราบว่าการเช็คตารางรถไฟออนไลน์ต้องทำยังไง วันนี้ Vacation On จะมาไขข้อข้องใจให้กับทุกคนค่ะ
ทำความรู้จักกับรถไฟไทย
กิจการรถไฟได้เริ่มต้นให้บริการประชาชน ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2439 จนกระทั่งสิ้น รัชสมัยของพระองค์ในปี พ.ศ.2453 ต่อมาการรถไฟไทยได้มีการพัฒนาระบบต่าง รวมถึงการบริการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปัจจุบันการรถไฟไทยเปิดให้บริการจอง และซื้อตั๋วรถไฟออนไลน์ด้วยระบบ E – ticket บนหน้าเว็ปไซตฺการรถไฟแห่งประเทศไทย www.railway.co.th หรือ www.thairailwayticket.com เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยที่หันกลับมาให้ความสนใจในการเดินทางโดยรถไฟมากขึ้น นอกจากระบบการจองตั๋ว และการซื้อตั๋วออนไลน์ได้แล้ว ยังสามารถเช็คตารางการเดินรถของการรถไฟได้อีกด้วย ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการเช็คตารางรถไฟ เราควรจะรู้จักประเภทของรถไฟไทยที่มีให้บริการทั้งหมดก่อนนะคะ จะได้เลือกขึ้นได้ถูกตามความต้องการของเรา
ประเภทรถไฟ
ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express) ปัจจุบันมีให้บริการทั้งหมด 10 ขบวน เป็นขบวนที่บริการเฉพาะการเดินทางระยะไกล จอดพักเฉพาะสถานีที่สำคัญเท่านั้น ชนิดของรถที่ให้บริการคือ
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
- รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซข.ป.)
- รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ (กซม.ป.)
ขบวนรถด่วน (Express) มีให้บริการทั้งหมด 9 ขบวน เป็นขบวนรถที่เดินระยะทางไกล หยุดเฉพาะสถานีที่สำคัญๆ เท่านั้น
แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วง มากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ และชนิดของขบวนรถที่มีให้บริการคือ
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
- รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซม.ป.)
- รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)
ขบวนรถเร็ว (Rapid) มีให้บริการทั้งหมด 17 ขบวน เป็นขบวนรถที่เดินระยะทางไกล แต่จะหยุดรับ – ส่ง ผู้โดยสาร ในจำนวนสถานีที่มากกว่าขบวนรถด่วน ชนิดของขบวนรถที่มีให้บริการคือ
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
- รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
ขบวนรถธรรมดา (Ordinary) มีให้บริการทั้งหมด 27 ขบวน เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทาง ไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย หยุดทุกๆ สถานีใช้สำหรับการเดินทางในระยะสั้น ชนิดของขบวนที่ให้บริการคือ
- รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
- รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)
ขบวนรถชานเมือง (Bangkok Commuter) เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ระยะทางไม่เกิน 150 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุกสถานี และจอดทุกป้ายหยุดรถ เส้นทางที่เปิดให้บริการคือ
- สายเหนือ กรุงเทพ – ลพบุรี ระยะทาง 133 กิโลเมตร
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพ – ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 125 กิโลเมตร
- สายตะวันออก กรุงเทพ – ปราจีนบุรี ระยะทาง 122 กิโลเมตร
- สายใต้ กรุงเทพ – ราชบุรี ระยะทาง 117 กิโลเมตร
- สายใต้ กรุงเทพ – สุพรรณบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร (ขบวนรถพิเศษชานเมือง)
ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter) มีให้บริการทั้งหมด 24 ขบวน เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ที่ต้องการเดินทางระหว่างจังหวัด จะหยุดรถทุกสถานี และป้ายหยุดรถ ชนิดของขบวนรถที่ให้บริการคือ
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
- รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)
ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion) เป็นขบวนรถที่ให้บริการนักท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จะหยุดรับ – ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ชนิดของขบวนรถที่ให้บริการคือ
- รถโบกี้ชั้นที่ 3 ( บชส.)
- รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ ( กซข.ป.)
- รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ ( กซม.ป)
- รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ ( กซข.)
ให้บริการในเส้นทาง
- กรุงเทพมหานคร – พระนครศรีอยุธยา
- กรุงเทพมหานคร – น้ำตก
- กรุงเทพมหานคร – สวนสนประดิพัทธ์
- กรุงเทพมหานคร – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
วิธีเช็คตารางรถไฟ
หลังจากที่เรารู้จักชนิดของขบวนรถไฟกันไปแล้ว เรามารู้วิธีการเช็คตารางการเดินรถไฟแบบออนไลน์กันนะคะ การเช็คขบวนรถไฟมีวิธีการดังนี้
- เข้าไปที่เว็ป procurement.railway.co.th/checktime/checktime.asp
- เลือกสถานีต้นทาง และสถานีปลายทาง ที่ต้องการแล้วกดตรวจสอบด้านขวา
- ทำการกดเลือกขบวนรถที่เราต้องการเช็คเวลาการวิ่ง ในส่วนตรงนี้ยังสามารถตรวจสอบราคาค่าโดยสาร และติดตามขบวนรถได้อีกด้วย
วิธีจองตั๋วรถไฟ
วิธีการจองตั๋วรถไฟในปัจจุบันทำง่ายขึ้นมาก เพราะการรถไฟได้จัดทำระบบการจองตั๋วรถไฟแบบออนไลน์ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บริการของทุกคนที่เพิ่มมากขึ้นโดยมีขั้นตอนการจองง่ายๆ ดังนี้
ขั้นตอนในการจองตั๋วรถไฟออนไลน์
- ตรวจสอบขบวนรถไฟที่ต้องการเดินทาง
- เลือกขบวนรถ
- เลือกตู้
- เลือกที่นั่งสามารถทำได้ 2 แบบคือ ระบุที่นั่งด้วยตัวเอง และให้ระบบสุ่มที่นั่งให้ หลังจากนั้นใส่รายละเอียดข้อมูลผู้โดยสาร
- ชำระเงิน
– เลือกช่องทางการชำระเงิน
– ตรวจสอบข้อมูลการเดินทางทั้งหมดว่าถูกต้องหรือไม่ และยืนยันการชำระเงิน
– ชำระเงินผ่าน BBL Payment Gatewat เมื่อขั้นตอนการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ระบบจะกลับมาที่หน้าเว็บ
พร้อมแสดงข้อความว่าการสำรองที่นั่งเรียบร้อย/ Booking Success - พิมพ์ตั๋วโดยสาร หลังจากที่เราทำการจองตั๋วสำเร็จแล้วระบบจะทำการ POP Up ไฟล์ PDF ให้เราที่หน้าจอ เมื่อเปิดเข้าไปจะเป็นข้อมูลการเดินทางที่เราจอง และข้อมูลผู้โดยสาร ให้เราทำการพิมพ์ตั๋วออกมาเก็บไว้ได้เลยค่ะ และระบบจะทำการส่งไฟล์ PDF ให้เราทางอีเมลล์อีกครั้งด้วย
เงื่อนไขการจองตั๋วรถไฟออนไลน์
การจะทำการจองตั๋วออนไลน์ได้นั้น ทางการรถไฟได้กำหนดเงื่อนไขการให้บริการไว้ดังนี้ค่ะ
- ต้องสมัครสมาชิกที่ระบบ e-TSRT ก่อนเพื่อใช้ในการสำรองที่นั่ง โดยการเข้าที่เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com/eTSRT/ เลือกเมนูสมัครสมาชิก
- ระยะเวลาการจำหน่ายตั๋วและสำรองที่นั่งล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน และสามารถสำรองที่นั่งได้ก่อนขบวนรถออก 2 ชั่วโฒง
- ให้บริการเฉพาะขบวนรถเชิงพาณิชย์ใน 3 เส้นทาง (ไม่รวมขบวนรถนำเที่ยว) ดังนี้ – เส้นทางสายเหนือ – เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ – เส้นทางสายใต้
- ให้บริการเฉพาะตั๋วผู้ใหญ่ (เต็มราคาที่ไม่ใช้สิทธิ์ลดราคาใดๆ) และตั๋วเด็ก (มีสิทธิ์ลดราคา 50% และมีส่วนสูงตั้งแต่ 100 เซนติเมตร ขึ้นไป และไม่เกิน 150 เซนติเมตร เท่านั้น)
- การสำรองที่นั่งทางอินเทอร์เน็ต สามารถสำรองที่นั่งได้ไม่เกิน 4 ที่นั่งต่อการทำรายการ 1 ครั้ง
- สามารถเลือกที่นั่งได้เอง หรือให้ระบบ e-TSRT ทำการเลือกที่นั่งให้โดยอัตโนมัติ
- การชำระเงินค่าตั๋วจะรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตระบบ Visa,Master Card, JCB และบัตรเดบิตของธนาคารกรุงเทพ เท่านั้น
- การจองและซื้อตั๋วผ่านระบบ e-TSRT จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มดังนี้ ชั้น 1 ค่าบริการ 40 บาทต่อ 1 ที่นั่ง ชั้น 2 ค่าบริการ 30 บาทต่อ 1 ที่นั่ง และชั้น 3 ค่าบริการ 20 บาทต่อ 1 ที่นั่ง
- ต้องพิมพ์ตั๋วที่ได้จากระบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในวันเดินทาง และไม่สามารถแสดงตั๋วผ่านสมาร์ทโฟนได้
- การเลื่อนชั้น/เปลี่ยนแปลงตั๋ว ต้องติดต่อขอเลื่อนชั้น/เปลี่ยนแปลงตั๋ว ได้เฉพาะที่สถานีรถไฟเท่านั้น
การเดินทางด้วยรถไฟจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยวิธีการเช็คตารางรถไฟ และการจองตั๋วรถไฟแบบออนไลน์ที่ Vacation On นำเอามาฝากกันวันนี้นะคะ น่าจะเป็นช่องทางการเดินทางอีกช่องทางนึงที่หลายๆคนสนใจ ไปเปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในแบบใหม่ ด้วยการเดินทางที่มีเสน่ห์ด้วยรถไฟกันเยอะๆนะคะ